เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning) คือ การใช้เหตุผล กฎ กฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกกรณี การให้เหตุผลซึ่งให้ความสำคัญในการวิเคราะห์หาเหตุผล สร้างการจัดลำดับเรื่องราวก่อนหลัง โดยแยกแยะความสำคัญของเรื่องราวด้วยการเปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ทำให้การตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่าเหตุผลเชิงตรรกะ คือ การคิดที่มีเหตุผลรองรับในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ใช้เหตุผลมาตัดสินใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
อัลกอริทึม (Algorithm) คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่มีลำดับ หรือวิธีการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน โดยอัลกอริทึมมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ได้แก่
1. ทำความเข้าใจปัญหา
2. คิดวิธีการแก้ปัญหา
3. เรียงลำดับขั้นตอนก่อนและหลัง
4. ทบทวนขั้นตอนในแต่ละวิธี
5. ตรวจสอบความถูกต้องและผลลัพธ์
6. เลือกวิธีการที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหา
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการอธิบายอัลกอริทึม (Algorithm) แบ่งได้เป็น
1. การแสดงอัลกอริทึมด้วยข้อความ
คือ การใช้ข้อความแสดงขั้นตอนการทำงาน มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ลำดับ และขั้นตอนการทำงาน
ใบกิจกรรม เรื่อง ข้อความปริศนากับเจ้าหนูยอดนักสืบ
2. การแสดงอัลกอริทึมด้วยรหัสลำลองหรือซูโดโค้ด
คือ การอธิบายด้วยข้อความทีละขั้นตอน โดยภาษาที่ใช้จะมีความก้ำกึ่งกับภาษาคอมพิวเตอร์
ใบกิจกรรม เรื่องรหัสลับของนักสืบเยาวชน
3. การแสดงอัลกอริทึมด้วยผังงานหรือโฟลวชาร์ต
คือ แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน ซึ่งสามารถใช้แผนผังนี้แสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้